วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
          การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์ ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
          ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง

เรื่องที่ 1 การใชเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรื่องที่ 1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

บาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • นิยาม
  • เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ลักษณะ
  • สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ผล
  • ของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ความ
    ก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
    พัฒนา
    การของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
    รูป
    แสดงการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม
    นักเรียน
    ลองจินตนาการดูว่า นักเรียนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อตื่นนอนนักเรียนอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือเพลงไปทั่ว นักเรียนใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน ดูรายการทีวี วีดีโอเมื่อมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าไปศูนย์การค้า ขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนซึ่งควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ที่บ้านนักเรียน นักเรียนอาจอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ คุณแม่ทำอาหารด้วยเตาอบซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน

    เรื่องที่ 6 หน่วยประมวณผลกลางและความจำหลัก

       คือ หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง หน่วยความจำ ชนิดนี้จะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และมีกระแสไฟฟ้า เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลาง นำข้อมูลมาเก็บ และเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว
             เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลัก เพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง ซีพียูจะทำหน้าที่นำคำสั่ง จากหน่วยความจำหลัก มาแปลงความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เป็นวงรอบเรื่อยๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบคำสั่ง (Execution cycle)
             จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่านเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลัก จะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติุุถ้าให้ซีพียูทำงานที่มีความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 2,000 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทันช่วงติดต่ออาจมีเพียง 100 เมกะเฮิรตซ์
             หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ จึงต้องกำหนดคุณลักษณะในเรื่องช่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล (Accesss time) ค่าที่ใช้ทั่วไปอยู่ในช่วงประมาณ 60 นาโนวินาที ถึง 125 นาโนวินาที (1 นาโนวินาทีเท่ากับ 10 ยกกำลัง -9 วินาที) แต่อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาให้หน่วยความจำ สามารถใช้กับซีพียูที่ทำงานเร็วขนาด 33 เมกะเฮิรตซ์ โดยการสร้าง หน่วยความจำพิเศษมาึคั่นกลางไว้ ซึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแคช (cache memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามา เพื่อนำชุดคำสั่ง หรือข้อมูลจากหน่วยหลักมาเก็บไว้ก่อน เพื่อให้ซีพียูเรียกใช้ได้เร็วขึ้น
    แบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล
    1.หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory)          คือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้ กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด
    2. หน่วยความจำไม่ลบเลือน (nonvolatile memory)         คือ หน่วยความจำเก็บข้อมูลได้ โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร

    แบ่งตามสภาพการใช้งาน
    1. หน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว
               ไม่สามารถเขียนลงไปได้ เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM)
    รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่นเก็บโปรแกรมควบคุม การจัดการพื้นฐานของระบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ (bios) รอม ส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบ ลบข้อมูลและ เขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น ใช้แสงอุลตราไวโลเล็ตฉายลงบนผิวซิลิกอน
    หน่วยความจำประเภทนี้ มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ และขณะใช้งานจะมีแผ่นกระดาษทึบ
    ปิดทับไวเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า อีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory : EPROM)

    2. หน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้

               การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้ เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็น หน่วยความจำแบบลบเลือนได้
              เป็นหน่วยความจำหลักที่สามารถนำโปรแกรม และข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก หรือหน่วยความจำรองมาบรรจุไว้ หน่วยความจำแรมนี้ต่างจากรอมที่สามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่เท่านั้น หากปิดเครื่องข้อมูล จะหายได้หมดสิ้น เมื่อเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง จึงจะนำข้อมูลหรือโปรแกรมมาเขียนใหม่อีกครั้ง
              หน่วยความจำแรมมีขนาดแตกต่างกันออกไป หน่วยความจำชนิดนี้บางครั้งเรียกว่า read write memory ซึ่งหมายความว่า ทั้งอ่านและบันทึกได้ หน่วยความจำเป็บแรมที่ใช้อยู่สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    1. ไดนามิกแรมหรือดีแรม (Dynamic RAM : DRAM)
              DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ ( Capacitor ) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ refresh เพื่อ เก็บข้อมูลให้
    คงอยู่ โดยการ refresh นี้ ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่อง จากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้เอง จึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic RAM ปัจจุบันนี้แทบจะหมดไปจากตลาดแล้ว
              ปัจจุบันมีการคิดค้นดีแรมขึ้นใช้งานอยู่หลายชนิด เทคโนโลยีในการพัฒนาหน่วยความจำประเภทแรม เป็นความพยายามลดเวลา ในส่วนที่สองของการอ่านข้อมูล นั่นก็คือช่วงวงรอบการทำงาน ดังนี้         
               Fast Page Mode DRAM (FPM DRAM)
                   FPM นั้น ก็เหมือนๆกับ DRAM เพียงแต่ว่า มันลดช่วงการหน่วงเวลาในขณะเข้าถึงข้อมูลลง ทำให้มัน มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า DRAM ปกติ โดยที่สัญญาณนาฬิการปกติในการเข้าถึงข้อมูล จะเป็น 6-3-3-3 ( Latency เริ่มต้นที่ 3 clock พร้อมด้วย 3 clock สำหรับการเข้าถึง page ) และสำหรับระบบแบบ 32 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด 100 MB ต่อวินาที ส่วนระบบแบบ 64 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 200 MB ต่อวินาที เช่นกันครับ ปัจจุบันนี้ RAM ชนิดนี้ก็แทบจะหมดไปจากตลาดแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นได้บ้างและมักจะมีราคา ที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ RAM รุ่นใหม่ๆ เนื่องจากที่ว่า ปริมาณที่มีในท้องตลาดมีน้อยมาก ทั้งๆที่ ยังมีคนที่ต้องการใช้ RAM ชนิดนี้อยู่
               Extended-Data Output (EDO)
                   DRAM หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ Hyper-Page Mode DRAM ซึ่งพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการที่มันจะอ้างอิงตำแหน่ง ที่อ่านข้อมูลจากครั้งก่อนไว้ด้วย ปกติแล้วการดึงข้อมูลจาก
    RAM ณ ตำแหน่งใดๆ มักจะดึงข้อมูล ณ ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ๆ จากการดึงก่อนหน้านี้ เพราะงั้น ถ้ามีการอ้างอิง ณ ตำแหน่งเก่าไว้ก่อน ก็จะทำให้ เสียเวลาในการเข้าถึงตำแหน่งน้อยลง และอีกทั้งมันยังลดช่วงเวลาของ CAS latency ลงด้วย และด้วยความสามารถนี้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นกว่าเดิม กว่า 40% เลยทีเดียว และมีความ สามารถโดยรวมสูงกว่า FPM กว่า 15%
                  EDO จะทำงานได้ดีที่ 66MHz ด้วย Timming 5-2-2-2 และ ก็ยังทำงานได้ดีเช่นกันถึงแม้จะใช้งานที่ 83MHz ด้วย Timming นี้ และหากว่า chip EDO นี้ มีความเร็วที่สูงมากพอ ( มากกว่า 50ns ) มันก็สามารถใช้งานได้ ณ 100 MHz ที่ Timming 6-3-3-3 ได้อย่างสบาย อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดของ DRAM ชนิดนี้อยู่ที่ 264M ต่อวินาที
                  EDO RAM เองก็เช่นกัน ณ ปัจจุบันนี้ ก็หาได้ค่อนข้างยากแล้วในท้องตลาด เนื่องจากบริษัทผู้ผลิต หยุดผลิต หรือ ผลิตในปริมาณน้อยลงแล้ว เพราะหันไปผลิต RAM รุ่นใหม่ๆ แทน ทำให้ราคาเมื่อเทียบเป็น เมกต่อเมก กับ SDRAM จึงแพงกว่า

    Burst EDO (BEDO) DRAM
                   BEDO ได้เพิ่มความสามารถขึ้นมาจาก EDO เดิม คือ Burst Mode โดยหลังจากที่มันได้ address ที่ต้องการ address แรกแล้ว มันก็จะทำการ generate อีก 3 address ขึ้นทันที ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา ดังนั้นจึงตัดช่วงเวลาในการรับ address ต่อไป เพราะฉะนั้น Timming ของมันจึงเป็น 5-1-1-1 ณ 66 MHz
                   BEDO ไม่เป็นที่แพร่หลาย และได้รับความนิยมเพียงระยะเวลาสั้นๆ เนื่องมาจากว่าทาง Intel ตัดสินใจใช้ SDRAM แทน EDO และไม่ได้ใช้ BEDO เป็นส่วนประกอบในการพัฒนา chipset ของตน ทำให้บริษัทผู้ผลิตต่างๆ หันมาพัฒนา SDRAM กันแทน
               Synchronous DRAM (SDRAM)
                   SDRAM นี้ จะต่างจาก DRAM เดิม ตรงที่มันจะทำงานสอดคล้องกับสัญญาณนาฬิกา สำหรับ DRAM เดิมจะทราบตำแหน่งที่จะอ่าน ก็ต่อเมื่อเกิดทั้ง RAS และ CAS ขึ้น แล้วจึงทำการ ไปอ่านข้อมูล โดยมีช่วงเวลาในการ
    เข้าถึงข้อมูล ตามที่เราๆมักจะได้เห็นบน chip ของตัว RAM เลย เช่น -50 , -60, -80 โดย -50 หมายถึง ช่วงเวลา
    เข้าถึง ใช้เวลา 50 นาโนวินาทีเป็นต้น แต่ว่า SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดการทำงาน โดยจะใช้ความถี่
    ของสัญญาณเป็นตัวระบุ SDRAM จะทำงานตามสัญญาณนาฬิกาขาขึ้น เพื่อรอรับตำแหน่งที่ต้องการให้มันอ่าน
    แล้วจากนั้น มันก็จะไปค้นหาให้ และให้ผลลัพธ์ออกมา หลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว เท่ากับ ค่า CAS เช่น CAS 2 ก็คือ หลังจากรับตำแหน่งที่จะอ่านแล้ว มันก็จะให้ผลลัพธ์ออกมา ภายใน 2 ลูกของสัญญาณนาฬิกา
                   SDRAM จะมี Timming เป็น 5-1-1-1 ซึ่งแน่นอน มันเร็วพอๆ กันกับ BEDO RAM เลยทีเดียว แต่ว่ามันสามารถ ทำงานได้ ณ 100 MHz หรือ มากกว่า และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 528 M ต่อวินาที
               DDR SDRAM ( หรือ ที่เรียกกันว่า SDRAM II )
                   DDR DRAM นี้ แยกออกมาจาก SDRAM โดยจุดที่ต่างกันหลักๆ ของทั้งสองชนิดนี้คือ DDR SDRAM นี้ สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งขาขึ้น และ ขาลง ของสัญญาณนาฬิกา เพื่อส่งถ่ายข้อมูล นั่นก็ทำให้อัตราส่งถ่ายเพิ่มได้ถึงเท่าตัว ซึ่งจะมีอัตราส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต่อวินาทีเลยทีเดียว
               Rambus DRAM (RDRAM)
                   ชื่อของ RAMBUS เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท RAMBUS Inc. ซึ่งตั้งขึ้นมาตั้งแต่ยุค 80 แล้ว เพราะฉะนั้น ชื่อนี้ ก็ไม่ใช่ชื่อที่ใหม่อะไรนัก โดยปัจจุบันได้เอาหลักการของ RAMBUS มาพัฒนาใหม่ โดยการลด pin, รวม static buffer, และ ทำการปรับแต่งทาง interface ใหม่ DRAM ชนิดนี้ จะสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและลง ของสัญญาณนาฬิกา และ เพียงช่องสัญญาณเดียว ของหน่วยความจำแบบ RAMBUS นี้ มี Performance มากกว่าเป็น
    3 เท่า จาก SDRAM 100MHz แล้ว และ เพียงแค่ช่องสัญญาณเดียวนี้ก็มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1.6 G ต่อวินาที               ถึงแม้ว่าเวลาในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มของRAMชนิดนี้จะช้า แต่การเข้าถึงข้อมูลแบบต่อเนื่องจะเร็วมากๆ ซึ่งหากว่า RDRAM นี้มีการพัฒนา Interface และ มี PCB ที่ดีๆ แล้วละก็ รวมถึง Controller ของ Interface ให้สามารถใช้งานมันได้ถึง 2 ช่องสัญญาณแล้วหล่ะก็ มันจะมีอัตราส่งถ่ายข้อมูลเพิ่มเป็น 3.2 G ต่อวินาทีและหากว่า
    สามารถใช้งานได้ถึง 4 ช่องสัญญาณ ก็จะสามารถเพิ่มไปถึง 6.4 G ต่อวินาที มหาศาลเลย
    2. Static Random Access Memory (SRAM)
                  จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM จะต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ และจะไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อ สั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมัน ก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงกว่ามาก จึงเป็นข้อด้อยของมันเช่นกัน
     
    3.น่วยความจำความเร็วสูง (Cache Memory)
                  หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ทำหน้าที่เหมือนที่พักคำสั่ง และข้อมูลระหว่าง การทำงาน เพื่อให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น แบ่งเป็นสองประเภท คือ แคชภายใน (Internal Cache) และแคชภายนอก (External Cache) โดยแคชภายใน หรือ L1 หรือ Primary Cache เป็นแคชที่อยู่ในซีพียู ส่วนแคชภายนอก เป็นชิปแบบ SRAM ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำงานได้ช้ากว่าแบบแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกอีกชื่อได้ว่า L2 หรือ Secondary Cache
     
     
    เมนบอร์ด (Main board)
                  เป็นอุปกรณ์ภายใจเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่รวมองคืประกอบ ของคอมพิวเตอร์ทุกหน่วย เข้าด้วยกัน เป็นเหมือนศูนย์กลางของระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากอุปกรณ์ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับเข้า หน่วยแสดงผล หน่วยความจำหลัก หรือหน่วยความจำรอง ต้องถูกนำมาเชื่อมกับเมนบอร์ด จึงจะทำงานได้
                   เราจำเป็นที่จะต้องจัดเตรียม Mainboard ให้ตรงกับ CPU ที่ใช้ ซึ่ง Mainboard ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน
    ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท ATX กันหมดแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาดูว่า Mainboard แบบใดจึงจะเป็น Mainboard ที่จะเลือกมาใช้ในการประกอบเครื่องคอมฯของเรา โดยมีหลักในการเลือก Mainboard ดังนี้
    ประการแรก ::>มื่อเราพิจารณาแล้วว่าจะใช้ CPU จากค่ายใหนเราก็เลือกใช้
    MainBoard ที่สนับสนุน CPU นั้นโดยอาจต้องคำนึงถึง ชื่อของผู้ผลิต MainBoard ด้วย
    เพราะถึงแม้ว่าจะใช้ ChipSet เดียวกัน มีคุณสมบัติเหมือนกันแต่ก็มีประสิทธิภาพที่ต่างกันอีก
    ทั้งยังมีเสถียรภาพที่ต่างกันด้วย ซึ่งในเรื่องของ เสถียรภาพนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเลือก
    MainBoard เพราะ MainBoard มีเสถียรภาพต่ำก็จะทำให้เครื่องคอมฯของเราหยุดทำงานบ่อย
    โดยไม่ทราบสาเหตุ
    ประการที่สอง ::>ส่วนการที่จะพิจารณาว่าจะเลือก MainBoard แบบ All in One คือ Mainboard ที่มีทั้ง Card แสดงผล และ Sound Card บน Board บางรุ่นมี Modem และ
    LAN Card บน Card ด้วย กับแบบที่ไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่เลยอย่างใหนดีกว่ากัน นั้นจำเป็น
    ต้องพิจารณาในเรื่องของราคาเป็นหลักเพราะ Mainboard ที่เป็นแบบ All in One นั้นจะมีราคาถูกกว่า MainBoard ที่ไม่มีอุปกรณ์ แต่สิ่งที่เราจะต้องสูญเสียไปคือการที่มีจำนวน Slot ที่จะใช้ในการเพิ่มเติมอุปกรณ์ลดน้อยลง อีกทั้งในเรื่องของเสถียรภาพของ Board แบบ
    All in One จะต่ำกว่าแบบไม่มี และยังยากแก่การ Upgrade (การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง)
                
               
              
          

    เรื่องที่ 5 อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล

    เรื่องที่ 5 อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล

    Input device
    อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล ซึ่งอาจจะเป็นรูปภาพ ตัวอักษร เสียง หรือ วีดีโอ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น เมาส์ ( mouse) , คีย์บอร์ด (Keyboard) , ปากกาแสง ( Light Pen) , ไมโครโฟน ( Microphone) , สแกนเนอร์ (Scanner)
    อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า

    Signatures and thumbprints can now be captured by a single biometric input device, new ePad-i.d. from Interlink Electronics

    NEW INPUT DEVICE CAPTURES BOTH SIGNATURES AND THUMBPRINTS
    FOR BIOMETRICALLY-SECURE DOCUMENT PROCESSING
    A new input device, ePad-i.d., is the first to accept both handwritten signatures and thumbprints for electronic document security applications, the manufacturer reports. The integrated, low profile PC input device has been introduced in Europe by Interlink Electronics, Inc. It uses the company's patented VersaPad technology to capture handwritten signature and fingerprint biometrics.

    ePad-i.d. gives government agencies and the financial, insurance and retail industries an important new tool to automate the signing of electronic documents while achieving compliance with increasingly stringent customer identification rules.

    "European government institutions and businesses increasingly require both signatures and thumbprints on transactions and legal documents," says Rod Vesling, Interlink VP Marketing. "And ePad-i.d. allows them to accomplish both with a single device for the first time."

    Applications requiring both electronic signatures and thumbprints include: automation of secure documents and transactions; identification systems including (in some European countries) driver's license programs; consumer check cashing; and high-security network access systems.

    PYXLPOINT TWO HANDED INPUT DEVICE
    Here we have an input device designed for detailed mousing, perfect for PhotoShop and Illustrator users. Point with precision, select commands with touch sensitivity and get more cursor control for your movement.

    เรื่องที่ 4 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์




     

     


     

    เรื่องที่ 4 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

    องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
    ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
    องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

    • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
      • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
      • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
      • หน่วยความจำหลัก
      • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
      • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
      หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
      หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
    ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

    • ซอฟต์แวร์ (Software) คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
      ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
      • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
      • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
    ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
    ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

    • บุคลากร (Peopleware) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
      ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
      ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
      บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
      • การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
      • การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
      • การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
      • การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
      • การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น

    • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
      ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
    สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
    มีความสัมพันธ์กัน (relevant)สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
    มีความทันสมัย (timely)ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
    มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
    มีความกระชับรัดกุม (concise)ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
    มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน

    คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์


    การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

    • กระบวนการทำงาน (Procedure)
    กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
    1. จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
    2. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
    3. เลือกรายการ
    4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
    5. รับเงิน
    6. รับใบบันทึกรายการ และบัตร
    การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น

    เรื่องที่ 2 ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์

    เรื่องที่ 2 ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์

    ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์

    ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน คือ
                    1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
                  2. ซอฟต์แวร์ (Software) บางครั้งเรียกว่า โปรแกรม (program) หรือชุดคำสั่ง วัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์ที่สังให้ฮาร์ดแวร์ทำงานคือ การประมวลผลข้อมูล (data) ให้เป็นสารสนเทศ (information)
                  3. ข้อมูลหรือสารสนเทศ (data หรือ infomation) ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลหรือข้อสนเทศที่ป้อนเข้า
    สู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้น ข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ถ้าข้อมูลที่ป้อนเข้าไปมีความ
    ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
     ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวม ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้ระบบ
    คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลให้ได้สารสนเทศ

                   สารสนเทศ (information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากกาประมวลผลแล้ว ซึ่งในบางครั้ง สารสนเทศอาจจะเป็นข้อมูลเพื่อการประมวลผล
    ให้ได้ข้อสนเทศอีกอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น คะแนนสอบของนักเรียน เป็นข้อมูล เมื่อผ่านกระบวนการตัดเกรด จะได้เกรดเป็นสารสนเทศ และเมื่อนำ
    เกรดของนักเรียนไปหาค่าเฉลี่ย เกรดของนักเรียนจะเป็นข้อมูล และสารสนเทศที่ได้คือเกรดเฉลี่ย (GPA)
                     4. ผู้ใช้ (User) การทำงานของคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีผู้ใช้สั่งงาน แต่ปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์บางชนิด ที่สามารถทำงานได้อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่แล้วยังต้องการมนุษย์เป็นผู้สั่งงานเสมอ
                           5. กระบวนการทำงาน (procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อ
    ให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์
    จำเป็นต้องที่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างขั้นตอนการทำงาน เช่น การถอนเงินด้วย
    เครื่องฝาก – ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) จะต้องมีขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานดังนี้ (วาสนา สุขกระสานติ, 2541)
              1. จอภาพแสดงความพร้อมเพื่อการทำงาน
              2. สอดบัตรและป้อนรหัสผู้ใช้
              3. เลือกรายการทำงาน
              4. ใส่จำนวนเงิน
              5. รับเงิน
               6. รับบัตรคืนและใบบันทึกรายการ
                    ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ปกติจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน ดังนั้นจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงานที่ชัดเจน
                   6. บุคลากรทางสารสนเทศ (information system personnel) เป็นส่วนที่สำคัญของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ใช้ (user) อย่างใกล้ชิดเพื่อการพัฒนาระบบให้ตรงความต้องการของผู้ใช้

    วิธีการแก้อาการนอนละเมอ

    คลิปนอนละเมอ อันตราย
    20040619sleep3
    การนอนละเมอเนี่ยจะเริ่มที่การนอน เราต้องการนอนหลับเพื่อที่ว่าอวัยวะและองค์ประกอบต่าง ๆ ของร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยจะได้พักผ่อนและกลับคืนสู่สภาพเดิมเรายังไม่รู้คำ อธิบายที่แท้จริงทางวิทยาศาสตร์ ว่าเรานอนหลับอย่างไรและทำไม แต่เชื่อกันว่าเรามี “ศูนย์กลางการนอนหลับ” อยู่ในสมองซึ่งควบคุมการนอนและการตื่นของร่างกาย
    อะไรที่ควบคุมศูนย์กลางการนอนหลับนี้?
    คำตอบคือ กิจกรรมทั้งวันของร่างกายเราจะปล่อยสารบางอย่างเข้าสู่เลือด หนึ่งในสารเหล่านั้นคือแคลเซียม มันจะผ่านเข้าไปในเลือกและกระตุ้นศูนย์กลางการนอนหลับ และก่อนหน้านี้ ศูนย์กลางการนอนหลับได้ “รับความรู้สึก” จากสารพิเศษมาแล้ว มันจึงมีปฏิกิริยาต่อแคลเซียม เมื่อศูนย์กลางการนอนหลับเริ่มทำงาน มันจะทำหน้าที่สองอย่าง
    อย่างแรกคือปิดกั้นบางส่วนของสมอง ดังนั้นเราจึงไม่อยากทำอะไร และจะไม่มีความรับรู้อะไรอีก เราอาจเรียกอาการนี้ว่า “สมองหลับ”
    อย่างที่ 2 คือ ปิดกั้นประสาทบางอย่างในก้านสมอง จนทำให้อวัยวะภายในและแขนขาของเราหลับ เราจะเรียกมันว่า “ร่างกายหลับ” และโดยปรกติแล้ว ปฏิกิริยาหรือชนิดของการหลับทั้งสองอย่างนี้จะเชื่อมโยงด้วยกัน แต่ในสภาพบางอย่างมันอาจแยกจากกันก็ได้ ! สมองอาจจะหลับในขณะที่ร่างกายยังตื่นอยู่ สิ่งนี้อาจเกิดกับคนที่ระบบประสาทไม่ทำปฏิกิริยาปรกติ ดังนั้นคนประเภทนี้ก็อาจลุกขึ้นจากเตียง ขณะที่สองตายังหลับอยู่แล้วออกเดินไปมาได้ ! การหลับของสมองและร่างกายไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน พวกเขาจึงนอนละเมอนั่นเอง
    คุณลองสำรวจดูว่าสามีคุณมีปัญหาด้านไหน เช่นทำงานเครียด มีความวิตกกังวลเรื่องใดหรือเปล่า เขาควบคุมอารมณ์ได้ไหม? ดื่มสุราไหม? และแก้ไขที่จุดนั้น
    ลองแนะนำให้เขาฝึกนั่งสมาธิ ฝึกจิตให้มีพลังไปแก้โปรแกรม และทำจิตใจให้สงบหยุดความเครียด วิตกกังวลดูสิคะ
    คุณลองสังเกตดูว่าละเมอกี่โมงเป็นเวลาเดียวกันทุกครั้งหรือเปล่า ให้เขาสั่งจิตตัวเองก่อนนอน ขณะกำลังง่วงๆ จะหลับคิดซ้ำๆ ว่าจะไม่ละเมอ จะไม่ละเมอ
    ถ้ายังไม่ดีขึ้นปรึกษาจิตเวช จะมีแผนกสั่งจิตใต้สำนึก ( Vibration Medicine )
    คิดว่ามีโอกาสหายได้ค่ะ

    วิธีการทำขนมเค้ก

    สตอเบอร์รี่ชีสเค้ก

    วันนี้นะคะ เอาวิธีการทำ สตอเบอร์รี่ชีสเค้ก มาฝากค่ะ ใครที่ชอบทานสตอเบอร์รี่ นี่ห้ามพลาดเลยนะคะ นอกจากหน้าตาจาน่ารักแล้ว ยังน่าทานด้วยนะคะ งั้นเรามาดูวิธีทำกันดีกว่าค่ะ ใครมีความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ก็ comment มานะคะ แล้วจาเอาวิธีการทำขนมเค้ก อื่นๆ มาให้ลองทำกันอีกนะคะ ^^"



    ส่วนผสมครัสท์

    1.เกรมแคร้กเกอร์ (graham cracker) 1 1/2 ถ้วย
    2.น้ำตาลทรายแดง 2 ชต.
    3.เกลือ 1/8 ชช.
    4.เนยละลาย 5 ชต.
    วิธีทำ
    1. ผสมของแห้งทุกอย่างรวมกัน ละลายเนยให้เหลว แล้วเทลงในอ่างแกรมแคร้กเกอร์
    ใช้ไม้พายคนส่วนผสมเข้าด้วยกัน คนไปเรื่อยๆจนกระทั่งส่วนผสมร่วนเป็นทรายไม่เกาะกันเป็นก้อนค่ะ
    2.เอา เนยทาที่ก้นพิมพ์ไว้ก่อนนะคะ พอส่วนผสมเรียบร้อยก็เอามากรุก้นพิมพ์ใช้มือกดๆให้เรียบแน่นหน่อยนะคะ จากนั้นก็เอาพิมพ์นี้ไปใส่ตู้เย็นให้ส่วนผสมแข็งจับตัว กันค่ะ ซัก 10-12 นาที แล้วก็เอาไปอบใช้ไฟ 350 องศาฟาเรนไฮต์ อบเสร็จแล้วก็พักไว้ก่อนค่ะ แล้วเราก็ไปทำตัวชีสเค้กกันก่อนนะคะ
    ส่วนผสมตัวชีสเค้ก
    1.ครีมชีสขนาด 8 ออนซ์ 3ก้อน
    2.น้ำตาล 1 1/4ถ้วย
    3.วานิลา extract 1/4 ชช
    4.ไข่ ทั้งฟอง 3 ฟอง
    5.ไข่แดง 1 ฟอง
    6.เฮฟวี่ครีม 1/3 ถ.
    7.sour cream 1/3 ถ.
    8.ผิวเลมอน หรือใช้แต่ เลมอนแอ๊คแทรคก็ได้ค่ะ 1/4 ชช
    มาเริ่มทำตัวเค้กกันต่อค่ะ..
    1.เอา ครีมชีส ต้องวางไว้ให้หายเย็นก่อนนะคะ อุณภูมิห้องตามตำรา ใส่ชามอ่างแล้วตีให้เนียนอย่าตีนานมากเกินไป พอตีเนียนดีแล้ว เอาน้ำตาลใส่ลงไปตีใส่น้ำตาลทีละ 1/3ถ้วยนะคะ ตีไปจนน้ำตาลหมด ใช้พายยางปาดๆขอบอ่างด้วย
    2.ต่อไปใส่ไข่ ใ่ส่ทีละฟองนะคะ ความเร็วของเครื่องที่ใช้ตีนี้ปานกลางค่อนข้างต่ำค่ะ
    3.จาก นั้นก็ใส่เฮฟวี่ครีม sour cream วานิลา เลมอนแอ๊คแทรค ตีให้เข้ากันค่ะ ตอนที่ตักส่วนผสมให้เข้ากันนี้ ทำๆหยุดๆด้วยนะคะ ใช้พายยางปาดตรงก้นขึ้นมาด้วย เผื่อมีครีมติดอยู่ก้นโถนะคะ ลืมบอกไปค่ะว่าถ้าหาsour cream ไม่ได้ให้ใช้โยเกิร์ตรสธรรมชาติแทนได้ค่ะ
    4.เมื่อ ส่วนผสมเข้ากันดีแล้วก็เทใส่พิมพ์ขนาด 9 นิ้ว อย่าลืมทาขอบๆพิมพ์ด้วยเนยนะคะ เอาใส่เตาอบชั้้นกลางของเตาอบ อบนาน 55 นาทีถึง 1 ชม.พออบเสร็จอย่าเพิ่งด่วนเอาชีสเค้กออกจากเตาอบ แค่ปิดเตาอบ แล้วแง้มๆเตาอบเปิดไว้นานประมาณ 1 ชม.ก่อนที่จะเอาเค้กออกมาตั้งข้างนอกให้อยู่ในอุณหภูมิห้องอีกทีนะคะ หน้าเค้กจะได้ไม่แตกค่ะ พอพักไว้เย็นอุณหภูมิห้องแล้วก็เอาใส่ตู้เย็นไว้ ให้เค้กอยู่ตัวอีก อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนจะตัดเค้กมาทานค่ะ


    ว๊าวๆๆๆ เพียงเท่านี้เราก็จามีเค้กน่ารักๆทานกันแล้วนะคะ ใครทำออกมาหน้าตาเป็นยังไง รสชาติถูกปากกันบ้างรึป่าว เอามาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ ^^" ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการทำ สตอร์เบอร์รี่ชีสเค้ก นะคะ สู้ๆ

    เค้กชอคโกแลตหน้านิ่ม

    เผลอปุ๊บนึกถึง ชอคโกแลต ปัป ลิ้นก็อยากจะสัมผัส  ใจก็อยากจะได้มา พอนึกปุ้บน้ำในปากไหลปัป นี่ขนาดห้ามใจนะ
    นี้ขนาดแค่ตั้งใจ เผลอปุปนึกถึง ชอคโกแลต ปัป ....... ทุกๆอย่างก็แวววับ โลกหมุนกลับในพริบตา
    น้าทุกข์ ช้างตัวใหญ่มานั่งทับ อย่าคิดว่าใหย่แล้วยอมนะ เพื่อ ชอคโกแลตฉันทำได้
    แม้เธอดำแต่ฉันยืนยันจะรักเธอ ดำได้ใจแต่หวานเกินใครก็ยิ่งรัก ชอคโกแลต
    ชอคโกแลตถึงแม้ฉันจะทานต่อ(แม้ว่าฉันจะทานแล้วโดนล้อ)ชอคโกแลต ถึงแม้ฉันจะทานต่อ(แม้ว่าฉันจะทานแล้วมันไม่หล่อ)  555 จบเพลงๆๆ ค่ะ ยิ่งร้องแล้วยิ่งอยากจากิน ชอคโกแลต
    ไม๊คะ งั้นวันนี้  เรามาดูวิธีการทำเค้กชอคโกแลต กันเลยดีกว่านะคะ อิ_อิ


    ส่วนผสมตัวเค้กส่วนที่ 1

    - แป้งเค้ก 80 กรัม
    - ผงฟู 1/4 ช้อนชา
    - เบคกิ้งโซดา 1/2 ช้อนชา
    - กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
    - เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
    - ผงโกโก้ 25 กรัม
    - น้ำตาลทรายป่น 90 กรัม

    ส่วนผสมตัวเค้กส่วนที่ 2

    - น้ำ 50 กรัม
    - นมข้นจืด 25 กรัม
    - น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
    - น้ำมันพืช 65 กรัม
    - ไข่แดง 2 ฟอง

    ส่วนผสมตัวเค้กส่วนที่ 3

    - ไข่ขาว 2 ฟอง
    - น้ำตาลทราย 45 กรัม
    - ครีมออฟทาทาร์ 1/4 ช้อนชา

    วิธีทำตัวเค้ก
    นำ ส่วนผสม 1 ได้แก่ แป้งเค้ก น้ำตาลทรายป่น ผงโกโก้ โซดา ผงฟู ร่อนร่วมกัน 2 ครั้งคะ ถ้าใช้วนิลลาแบบผงก็ร่อนรวมกันไปเลย แต่ใช้แบบน้ำใส่ทีหลังคะ เกลือป่นใส่หลังจากร่อนของแห้งอื่น ๆ แล้วนะคะ เพราะมันค่อนข้างเม็ดใหญ่ แล้วเอาช้อนให้เข้ากัน ทำหลุมตรงกลางไว้ค่ะ

    แล้วนำของเหลว (2) ที่ผสมกันไว้เทใส่ชามผสมของแห้ง (1) ค่ะ แล้ว เอาตะกร้อมือคนแบบน้ำเซาะตลิ่งให้เข้ากัน หรือจะคนแบบแรง ๆ เร็ว ๆ ก็ได้คะ พอเข้ากันแล้วหยุดเลย ถ้าคนมากเนื้อเค้กที่ได้เหนียวคะ แล้วพักไว้ก่อนคะ

    มา ถึงส่วนผสมที่ 3 บ้างค่ะ ไข่ขาวและครีมออฟทาร์ทาร์ใส่ชามผสม ตีด้วยความเร็วสูงจนเป็นฟอง ใส่น้ำตาลทรายป่นลงไปแล้วตีต่อด้วยความเร็วสูงค่ะ ใส่ทีละช้อนนะ ประมาณ 3 ครั้งค่ะ จนตั้งยอดอ่อนก่อนที่จะแข็ง แล้วหยุดค่ะ

    นำส่วนของไข่ขาวไปผสมกับส่วนของไข่แดงที่เราผสมกันไว้เมื่อกี้ แบ่งผสม 2 ครั้งนะ ใช้ตะกร้อมือส่วนผสมจะเข้ากันง่ายกว่าไม้พายนะคะ ถ้าตีไข่ขาวตั้งยอดมากไป ผสมกว่าจะเข้ากันใช้เวลานานนะคะ ไม่ดี เนื้อเค้กก็จะหยาบแห้งด้วย ก็ผสมกันจนหมดนะคะ พอผสมเข้ากันดีแล้วเทใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้คะ เคาะก้นพิมพ์เบา ๆ ไล่ฟองอากาศออกไปค่ะ นำเข้าเตาอบได้เลยค่ะ



    เค้กสุกนำออกมา กระแทกพิมพ์ให้โครงสร้างอยู่ตัว 1 ที รอเย็นนำออกจากพิมพ์ค่ะ คราวนี้มาทำหน้านิ่มกันค่ะ

    ส่วนผสมหน้าเค้ก
    ส่วนที่1
    - ผงวุ้น 1 ช้อนชา
    - น้ำ 300 กรัม
    - นมข้นจืด 200 กรัม
    - น้ำตาลทราย 200 กรัม
    - โกโก้ 50 กรัม

    ส่วนที่2
    - แป้งข้าวโพด 40 กรัม
    - นมข้นจืด 150 กรัม

    ส่วนที่3
    - เนยสด 150 กรัม

    วิธีทำหน้านิ่ม

    นำ น้ำ, น้ำตาลทราย, นมข้นจืดส่วนที่ 1 (200 กรัม), ผงโกโก้ และผงวุ้น ใส่หม้อรวมกันเลยค่ะ เอาตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันก่อนค่ะ

    ส่วนของ แป้งข้าวโพดและนมข้นจืดส่วนที่ 2 รวมกันให้เข้ากัน

    นำ ไปตั้งไฟอ่อนๆ แต่ก็ไม่อ่อนเสียสีเดียว มากกว่าอ่อนหน่อยค่ะ เอาตะกร้อมือคนตลอด ให้น้ำตาลทรายและผงวุ้นละลาคนไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมเดือดนะคะ

    แล้วก็เทแป้งข้าวโพดที่ละลายรวมกับนมข้นจืดลงไป ก่อนเทเขย่าๆ อีกทีคะ ตอนนี้ต้องลดไฟลงอ่อนค่ะ ใช้ตะกร้อมือคนตลอด ส่วนผสมจะข้นขึ้น ห้ามหยุดมือค่ะ

    ใส่เนยสดที่หั่นชิ้นเล็กลงไปคะ ถ้าใส่รัมใส่ตอนนี้เลยคะ คนให้เนยละลาย ปิดเตาเลยคะ
    จากนั้นก็คนด้วยตะกร้อมือต่อให้หน้านิ่มอุ่น ห้ามหยุดคน มันจะ set ตัวเป็นลิ่มๆ หยอดแล้วไม่สวยคะ

    เมื่อเค้กเย็นแล้วนำออกจากพิมพ์ slice เป็นกี่ชั้นตามต้องการนะคะ


    แบ่งหน้านิ่มตักใส่ไปค่ะ เท่าไรก็ใส่ไป แต่ดูให้มันสมดุลแล้วกันค่ะ หน้านิ่มนี่ต้องคอยคนตลอดนะ ห้ามหยุด หยุดแล้วมันจะเป็นลิ่มๆ ค่ะ

    แล้ว ก็จับเค้กเอียงๆ ให้หน้านิ่มไหล แล้วก็กระแทกๆ ให้หมดฟองอากาศ หรือใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มก็ได้ ทิ้งเวลาไว้ให้หน้านิ่มเซ็ทตัวนิดหน่อย เอานิ้วสัมผัสดูหน้ามันจะตึงๆ ค่ะ

    พอหน้านิ่มด้านล่างตึงๆ แล้วเอาเค้กชั้นต่อมาวางลงไป แล้วก็ทำเหมือนเดิมเหมือนเมื่อกี้ คราวนี้ทิ้งเวลาไว้กว่าหน้านิ่มจะเซ็ทตัวทั้งหมด